ในปีงบประมาณ 2557 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ได้มีการดำเนินงานออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพ ภายใต้โครงการ “การออกแบบโครงสร้างระบบฐานข้อมูล”: ระบบบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก คือ ด้านอนุกรมวิธาน ด้านเศรษฐกิจ กฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญ โดยมีการพัฒนาโครงสร้างที่สำคัญร่วมกับหน่วยงาน นักวิชาการที่ดำเนินการจัดทำข้อมูลและเป็นผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน โดยเฉพาะ ด้านข้าว และ กล้วย พร้อมกำหนดมาตรฐานโครงสร้างข้อมูล ทดสอบการบันทึกและนำเข้า สำหรับข้อมูลใหม่ที่ยังไม่ปรากฎในฐานข้อมูลที่มีมาก่อน รวมถึงการแสดงผลทางหน้าจอจากการสืบค้น เพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่จัดเก็บ
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า โครงสร้างที่มีการออกแบบได้รับการยอมรับจากนักวิชาการ ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐที่เป็นเจ้าของข้อมูล มากกว่าร้อยละ 70 และเห็นชอบกับการดำเนินงานในการเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นจุดเดียว สอดคล้องกับปัจจุบันอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อมในการรองรับข้อบทต่างๆ ของ WIPO IGC (WIPO Intergovernmental Committee on Intellectual Prop and Genetic Resources, Traditional Knowledge and Folklore) ซึ่งว่าด้วยเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรพันธุกรรมและสารอนุพันธ์จากทรัพยากรพันธุกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และการแสดงออกทางวัฒนธรรมดั้งเดิม โดยมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมกว่า 150 ประเทศ ซึ่งอาจทำให้เสียโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล เนื่องจาก
เนื่องจากการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรมในปี 2557 เป็นจุดตั้งต้น ของการเป็นศูนย์กลางข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ Clearing House ที่เริ่มจากพืชโดยใช้ข้าว และกล้วยเป็นต้นแบบเท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ ของการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ จำเป็นต้องพัฒนาเพิ่มเติม ซึ่งประกอบด้วย
นอกจากนี้ งานที่ต้องพัฒนาขึ้นใหม่เพื่อสนับสนุนการจัดเก็บและระบุแหล่งที่มาหรือแหล่งกำเนิดจำเป็นต้องมีข้อมูลหรือฟังค์ชั่นเพิ่มเติม ดังนี้
ดังนั้น สำหรับโครงการในปีงบประมาณ 2558 นี้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จึงเห็นความจำเป็นในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุกรรม เพื่อ